บริการของเรา

รักษาโรคเหงือก

โรคเหงือก คืออะไร ?

โ  รคเหงือก หรือโรคปริทันต์ เป็นภาวะที่มีการอักเสบ และติดเชื้อของเหงือก และเนื้อเยื่อที่ยึดฟัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจลุกลามเข้าทำลายกระดูกรอบๆ รากฟันและนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด โรคเหงือกเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อย แต่สามารถป้องกัน และรักษาได้

สาเหตุของ เหงือกอักเสบ ?

โรคเหงือกอักเสบเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่อยู่ตามซอกฟัน และขอบเหงือก ส่วนสาเหตุของคราบจุลินทรีย์นั้นก็เกิดจากการการทำความสะอาดฟัน และเหงือกไม่ทั่วถึง เมื่อทิ้งไว้นานจะเกิดเป็นคราบหินปูน เมื่อมีมากขึ้นก็เป็นคราบจุลินทรีย์ที่ร่างกายตอบสนอง เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

โรคปริทันต์ แบ่งได้เป็น 4 ระยะหลักๆ

  • โรคเหงือกอักเสบ
    Read More Read Less

    เป็นระยะเริ่มต้นของโรคปริทันต์ มีการอักเสบของเหงือกเนื่องจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ที่ขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวม แดง และมีเลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน แต่ยังไม่มีการทำลายกระดูกรอบรากฟัน ระยะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกำจัดคราบจุลินทรีย์และแปรงฟันอย่างถูกวิธี

  • โรคปริทันต์อักเสบระยะเริ่มต้น
    Read More Read Less

    เมื่อปล่อยให้เหงือกอักเสบเป็นเวลานาน จะมีการทำลายเส้นใยยึดปริทันต์และกระดูกรอบรากฟันเกิดขึ้น ร่องลึกปริทันต์ จะลึกมากขึ้นจาก 1-2 มม. เป็น 3-4 มม. แต่มักยังไม่มีอาการปวดหรือฟันโยก จำเป็นต้องรักษาโดยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก

  • โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง
    Read More Read Less

    เมื่อมีการลุกลามของการอักเสบ ร่องลึกปริทันต์จะเพิ่มเป็น 5-6 มม. มีการสูญเสียกระดูกรอบรากฟันถึง 50% ผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตเห็นว่าฟันยาวขึ้นและเริ่มโยก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดแผ่นเหงือก ร่วมกับการขูดและเกลารากฟันที่ละเอียดขึ้น

  • โรคปริทันต์อักเสบระยะรุนแรง
    Read More Read Less

    เป็นระยะที่มีการทำลายอย่างหนักของเนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูก ทำให้มีร่องลึกปริทันต์มากกว่า 6 มม. มีการสูญเสียกระดูกรอบรากฟันมากกว่า 50% ฟันจะโยกมาก อาจต้องเสริมกระดูกเทียมหรือปลูกถ่ายกระดูก ในบางกรณีที่กระดูกถูกทำลายมากเกินไป จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้ง

สัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคเหงือก

doneเหงือกบวม แดง เปลี่ยนสีคล้ำ หรือขอบเหงือกร่น
doneเหงือกมีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
doneมีเลือด หรือหนองไหลออกจากเหงือก
doneฟันสึกกร่อนผิดปกติ โยก หรือเคลื่อน เนื่องจากมีกระดูกละลาย
doneมีกลิ่นปาก
doneเคี้ยวอาหารลำบาก เพราะฟันโยก และเจ็บ
doneเหงือกร่นจนมองเห็นรากฟัน

ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก

doneขูดหินปูน และคราบจุลินทรีย์ที่ขอบเหงือกอย่างละเอียด
doneฝึกสอนวิธีแปรงฟัน และทำความสะอาดซอกฟันที่ถูกต้อง
doneกรณีมีหนอง หรือถุงหนอง อาจต้องระบายหนองและให้ยาปฏิชีวนะ
doneปรับการสบฟันที่ผิดปกติ เพื่อลดแรงกดที่เหงือก
doneจัดนัดเพื่อตรวจ และทำความสะอาดเหงือกเป็นประจำทุก 3-6 เดือน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

โรคเหงือกและโรคปริทันต์ ต่างกันอย่างไร?

doneโรคเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของการอักเสบของเหงือก เนื่องจากมีคราบจุลินทรีย์สะสมที่ขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวม แดง และมีเลือดออกได้ง่ายขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ยังไม่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟันหรือเส้นใยยึดปริทันต์ สามารถรักษาให้หายได้โดยการกำจัดคราบจุลินทรีย์และแปรงฟันอย่างถูกวิธี
doneโรคปริทันต์ เป็นระยะที่รุนแรงต่อเนื่องจากโรคเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากการอักเสบของเหงือกแล้ว ยังมีการทำลายเส้นใยยึดปริทันต์และกระดูกรองรับรากฟัน ทำให้เกิดร่องลึกปริทันต์ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ฟันโยก เคลื่อน และหลุดร่วงในที่สุด ต้องรักษาโดยการขูดหินปูนใต้เหงือก ร่วมกับการผ่าตัดปริทันต์ในบางกรณี

สาเหตุของการเกิด โรคปริทันต์

doneการมีคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่ขอบเหงือก ซึ่งเกิดจากการแปรงฟันไม่สะอาด
doneการสูบบุหรี่ หรือใช้ยาสูบ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเหงือกบกพร่อง
doneการมีน้ำลายน้อย หรือปากแห้ง ทำให้เชื้อโรคสะสมได้ง่าย
doneการมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้การติดเชื้อที่เหงือกควบคุมยาก
doneการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน สเตียรอยด์ ทำให้เหงือกอ่อนแอ
doneความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ
doneพันธุกรรม บางคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกมากกว่าคนทั่วไป